ศูนย์ข้อมูลองค์การมหาชน

(Web Portal)
หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่



หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ (Independent Administrative Organization)

หลักการ

(1) เป็นหน่วยงานรูปแบบใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลกิจกรรมของรัฐ หรือดำเนินกิจการบริการสาธารณะตามนโยบายสำคัญที่ต้องการความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ปราศจากแทรกแซงจากอำนาจทางการเมือง ซึ่งจะมีคณะกรรมการเป็นองค์กรที่มีอำนาจ และมีหน่วยธุรการเพื่อทำหน้าที่อำนวยการ

(2)         ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

(3)         เป็นนิติบุคคล

(4)         ความสัมพันธ์กับรัฐ


·        รัฐจัดตั้ง

·        ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ

·        รัฐมีอำนาจกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด  เช่น ผ่านการแต่งตั้งถอดถอนคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง  การอนุมัติงบประมาณ  การให้นโยบาย ฯลฯ)

·        บุคลากรมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

·        ต้องการอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบังคับฝ่ายเดียวต่อประชาชนหรือกำกับตรวจสอบ

·        การบริหารงานไม่ใช้กฎระเบียบของทางราชการ

·        รายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา

 

รายชื่อหน่วยงานของรัฐประเภทหน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ

ลำดับที่ หน่วยงาน รัฐมนตรีผู้รักษาการ วันที่ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 8 ธันวาคม 2485
2. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 16 มีนาคม 2535
3. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี 19 ธันวาคม 2553
4. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 31 สิงหาคม 2550
5. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 10 ธันวาคม 2550
6. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 14 มกราคม 2551
7. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 13 กุมภาพันธ์ 2551
8. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 1 ตุลาคม 2558

 

2)  กองทุนที่เป็นนิติบุคคล : กลไกทางเศรษฐกิจของรัฐ

หลักการ

     กองทุนที่เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยตราเป็นพระราชบัญญัติ เนื่องจากต้องการอำนาจรัฐ  ในการบังคับฝ่ายเดียวต่อภาคเอกชนหรือประชาชน ในการสมทบเงินเข้ากองทุน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนก็เพื่อเป็นกลไกทางเศรษฐกิจของรัฐ ในการดำเนินบริการสาธารณะแก่ประชาชน หรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือเพื่อการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเฉพาะด้าน การดำเนินงานของกองทุนจะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเงินสมทบจากกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ

            การบริหารกองทุนจะบริหารในรูปของคณะกรรมการ โดยมีหน่วยธุรการรองรับการทำหน้าที่ใน 3 รูปแบบ คือ

(1)   รัฐวิสาหกิจ

(2)   องค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติ

(3)   ส่วนราชการ

หน่วยงานของรัฐประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล : กลไกทางเศรษฐกิจของรัฐ

ลำดับที่ หน่วยงาน รัฐมนตรีผู้รักษาการ วันที่ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
1 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 27 กันยายน 2539
2 กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 24 มีนาคม 2541
3 กองทุนการออมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 11 พฤษภาคม 2554
4 กองทุนประกันชีวิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 10 เมษายน 2535
5 กองทุนประกันวินาศภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 10 เมษายน 2535
6 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 26 พฤศจิกายน 2528

 

3)   หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ

หลักการ

        (1) เป็นหน่วยงานให้บริการภายในของระบบราชการ โดยมีลักษณะกึ่งอิสระ แต่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ยังคงถือเป็นส่วนหนึ่งของกรม และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม มีเป้าหมายให้บริการหน่วยงานเจ้าสังกัดเป็นหลัก และหากมีกำลังการผลิตส่วนเกินจะให้บริการหน่วยงานอื่นและประชาชนได้ (ซึ่งทำให้แตกต่างจากรัฐวิสาหกิจที่มิได้เป็นนิติบุคคล เช่น โรงงานยาสูบ ฯ ที่ให้บริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมแก่ประชาชนเป็นหลัก)

       (2) การดำเนินงานใช้รูปแบบวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ สามารถจะเรียกเก็บค่าบริการจากหน่วยงานเจ้าสังกัด หรือลูกค้าผู้รับบริการอื่น ๆ ได้

        (3) ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร และไม่นำส่งรายได้เข้ารัฐโดยตรง หรือจำเป็นต้องเลี้ยงตัวเองได้เป็นสำคัญ แต่ในบางกรณีอาจมีการวางเงื่อนไขให้ต้องนำส่งรายได้เหนือรายจ่ายบางส่วนเข้ารัฐตามสมควร

         (4) ความสัมพันธ์กับส่วนราชการเจ้าสังกัด

        • จัดตั้งขึ้นจากการแปลงสภาพหน่วยงานบางหน่วยของส่วนราชการเจ้าสังกัดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2550 ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการเจ้าสังกัด และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกจากส่วนราชการเจ้าสังกัด

        • ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะตั้งงบประมาณอุดหนุนหน่วยบริการรูปแบบพิเศษในลักษณะค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการใช้บริการของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ หรือค่าใช้จ่าย ในการลงทุนเริ่มแรก แต่จะตั้งงบประมาณเพื่ออุดหนุนหน่วยบริการรูปแบบพิเศษไม่ได้

         • ส่วนราชการเจ้าสังกัดมีอำนาจบริหารจัดการ (ผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้อำนวยการ และการให้นโยบาย)

         • การดำเนินงานใด ๆ ของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษต้องได้รับการมอบอำนาจจากหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานเจ้าสังกัด

         • บุคลากรมีสถานะเป็นพนักงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ

         • ได้รับการยกเว้นหรือผ่อนคลายกฎระเบียบ เพื่อให้เกิดอิสระความคล่องตัวทางการบริหารจัดการ 

 

หน่วยงานของรัฐประเภทหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ

ลำดับที่ หน่วยงาน หน่วยงานเจ้าสังกัด วันที่ประกาศแปลงสภาพในราชกิจจานุเบกษา
1 สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. 7 มีนาคม 2548
2 สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 11 สิงหาคม 2549

 

การจำแนกประเภทของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามลักษณะภารกิจของหน่วยงาน

1)  หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่มีลักษณะภารกิจในการให้บริการด้านพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมแก่ส่วนราชการเจ้าสังกัด ยกตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

2) หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่มีลักษณะภารกิจในการให้บริการด้านบริการสาธารณะทางสังคม และวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หน่วยงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

 

 

กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ
รูปแบบอื่น สำนักงาน ก.พ.ร.
   59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ติดต่อเรา

   โทร. 02 356 9999
   โทรสาร 02 281 7882
   e-mail: saraban@opdc.go.th

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ