ศูนย์ข้อมูลองค์การมหาชน

(Web Portal)
A

 ได้ ในกรณีที่องค์การมหาชนมีแหล่งเงินทุนภายนอก องค์การมหาชนสามารถนำรายได้จากแหล่งเงินภายนอกดังกล่าวมาจ้างเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ควรมีการแยกบัญชีเงินเดือนให้ชัดเจน และรายจ่ายที่เบิกจ่ายจากแหล่งเงินทุนภายนอกนี้ไม่นับเป็นรายจ่ายบุคลากร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547

A

สามารถกระทำได้เนื่องจากในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อห้ามผู้อำนวยการองค์การมหาชนไปรับตำแหน่งประธานกรรมการ
หรือกรรมการในองค์กรประเภทดังกล่าวไว้ อย่างไรก็ตามนั้นให้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุมัติของคณะกรรมการองค์การมหาชน โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่
ในฐานะผู้อำนวยการองค์การมหาชน และกรณีการขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ด้วย

A

องค์การมหาชนจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้อำนวยการองค์การมหาชน หากองค์การมหาชนไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้ชัดเจน จะต้องเทียบเคียงใช้มาตรา 118 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยถือเสมือนเป็นข้อบังคับขององค์การมหาชน
หากองค์การมหาชนมีกำหนดระยะเวลาในการจัดตั้งและยุบเลิกไว้ชัดเจน ในกรณีนี้ จะถือว่าเป็นการจ้างตามมาตรา 118 วรรค 3 ประกอบวรรค 4 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งองค์การมหาชนไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (อ.ก.พ.ร.เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน)
ในกรณีที่ผู้อำนวยการองค์การมหาชน ไม่ผ่านการประเมินทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง กรณีนี้ ไม่ต้องเทียบเคียงใช้มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการจ่ายค่าชดเชย

A

หากองค์การมหาชนใดได้รับเงินงบประมาณดำเนินกิจกรรมจากแหล่งเงินทุนภายนอก ทำให้องค์การมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติมากกว่าตามแผนงานภายใต้งบประมาณแผ่นดิน ดังนั้นหากองค์การมหาชนจะนำเงินส่วนนี้มาจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานเพิ่มเติม โดยแยกบัญชีเงินเดือนออกจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับงบประมาณอุดหนุนของรัฐบาล โดยได้รับสิทธิประโยชน์และมีสภาพการจ้างงานเหมือนเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเงินเดือนจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล ในกรณีเช่นนี้ องค์การมหาชนสามารถกระทำได้หรือไม่ และรายจ่ายที่เบิกจ่ายจากแหล่งเงินทุนภายนอกยังต้องนับรวมเป็นรายจ่ายบุคลากรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 หรือไม

A

ผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชน สามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท

แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานโดยได้รับเงินเดือนหรือ ค่าจ้างจากงบประมาณขององค์การมหาชน
  2. ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้ที่องค์การมหาชนจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยมีสัญญาจ้าง
  3. เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานขององค์การมหาชนเป็นการชั่วคราว


A

ตำแหน่งบริหาร หมายถึง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้จัดการสำนัก / สาขา หรือเทียบเท่าที่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้อำนวยการ  องค์การมหาชน 2 ระดับ บุคคลที่อยู่นอกเหนือจากตำแหน่งบริหาร จะถือว่าเป็นตำแหน่งผู้ปฏิบัติทั้งหมด และการจ้างงานในทุกตำแหน่งในองค์การมหาชน ควรเป็นการจ้างด้วยระบบสัญญาจ้าง และจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของทุกตำแหน่งเพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาต่อสัญญาจ้างเมื่อครบอายุสัญญา 

A

ไม่ใช่ คณะกรรมการฯ ยังคงมีหน้าที่ติดตามดูแลให้อนุกรรมการดังกล่าว ทำหน้าที่ให้เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ และหากมีข้อผิดพลาดที่เกิดจากการบริหารงานเกิดขึ้น
คณะกรรมการฯ ยังคงต้องมีส่วนรับผิดชอบในความผิดพลาดดังกล่าว

A

ได้ หรืออาจเป็นการแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อรับผิดชอบดูแลเรื่องอื่นๆ ที่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นขององค์การ ซึ่งพิจารณาจากขนาด
ความซับซ้อน หรือความต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการปฏิบัติภารกิจขององค์การมหาชนนั้น

A

ไม่ได้ เนื่องจาก เมื่อกฎหมายได้ระบุตำแหน่งใดให้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งแล้ว บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งนั้นย่อมต้องเป็นกรรมการจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่ง เพราะตำแหน่ง
ที่กำหนดไว้ย่อมมีโดยถาวร อย่างไรก็ตาม หากผู้นั้นมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบมาก หรือเป็นกรรมการองค์การมหาชน เกินกว่า 3 แห่งแล้ว ผู้นั้นสามารถมอบหมายให้ผู้อื่นดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์การมหาชน A แทน

A

ในกรณีนี้ ไม่ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระ เนื่องจากการได้รับการแต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่อีกครั้งในคณะกรรมการชุดแรกนั้น เป็นการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาที่วาระเดิมยังไม่สิ้นสุดลง ดังนั้น ในการกลับมาดำรงตำแหน่งครั้งที่สองของผู้นั้น จึงถือได้ว่าเป็นการดำรงตำแหน่งในวาระแรกเพียงวาระเดียว ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการทั้งชุดหมดวาระและผู้นั้นได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้งหนึ่ง จึงสามารถกระทำได้ (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 387/2552)

กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ
รูปแบบอื่น สำนักงาน ก.พ.ร.
   59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ติดต่อเรา

   โทร. 02 356 9999
   โทรสาร 02 281 7882
   e-mail: saraban@opdc.go.th

สงวนลิขสิทธิ์ © 2025 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ