ศูนย์ข้อมูลองค์การมหาชน

(Web Portal)
A

กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเพิ่มเติม และ/หรือ ได้รับการแต่งตั้งแทนที่ตำแหน่งที่ว่างลง จะอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งไว้แล้ว (มาตรา 22
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542

A

กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเพิ่มเติม และ/หรือ ได้รับการแต่งตั้งแทนที่ตำแหน่งที่ว่างลง จะอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งไว้แล้ว (มาตรา 22
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542

A

ได้ เพราะการดำรงตำแหน่งกรรมการของผู้อำนวยการองค์การมหาชน จัดเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งเป็นคนละประเภทกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเมื่อกฎหมายระบุให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการโดยตำแหน่งแล้ว บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งนั้นย่อมต้องเป็นกรรมการจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี องค์การมหาชนไม่ควรกระทำเช่นนั้น เพราะการที่กฎหมายกำหนดไม่ให้กรรมการดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ ก็เพื่อมิให้ผู้ใดอยู่ในตำแหน่งนานเกินไปจนทำให้องค์การมหาชนขาดโอกาสที่จะได้ผู้มีความรู้ ความสามารถมาบริหารงานขององค์การมหาชน

A

ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากตำแหน่งประธานกรรมการนั้นจัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบกับเมื่อพิจารณาจากมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 ซึ่งกำหนดห้ามมิให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 150/2551)

A

เนื่องจากตำแหน่งกรรมการโดยตำแหน่งนั้น เป็นการดำรงตำแหน่งโดยผลของกฎหมายจึงไม่นับวาระการดำรงตำแหน่งรวมกับตำแหน่งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และหากผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาก่อน และได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว สามารถรับเป็นตำแหน่งกรรมการโดยตำแหน่ง หรือ
ผู้อำนวยการองค์การมหาชน ได้เช่นกัน

A

กรรมการโดยตำแหน่งนั้นจะไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง แต่จะพ้นจากการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ก็ต่อเมื่อไม่ได้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ แล้ว  

A

ตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง

โดยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่อำนวยการบริหารประเทศหรือควบคุมกิจการบริหารราชการแผ่นดิน โดยรวมถึงบรรดาผู้ที่รับผิดชอบงานด้านการเมืองทั้งหมด และอำนาจหน้าที่ของผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้แก่ การช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่างๆ ของกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย ในการอำนวยการบริหารประเทศหรือการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี จึงถือเป็นตำแหน่งทางการเมืองด้วย (คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546)

A

ไม่ขัดต่อ มาตรา 10 เนื่องจากมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 กำหนดคุณสมบัติของกรรมการไว้เพียงแต่ว่าต้องมีสัญชาติไทย ประกอบกับ มาตรา 23 กำหนดถึงเหตุที่ต้องพ้นจากการเป็นกรรมการ ก็ไม่ได้กำหนดให้การถือสัญชาติอื่นเป็นสัญชาติที่สอง เป็นเงื่อนไขหรือลักษณะต้องห้ามให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 157/2551)

A

ไม่ถือว่าเป็นตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของ สสร. และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรมมนูญนั้นมีระยะเวลาจำกัดและมีหน้าที่เพียงประการเดียว คือ การจัดทำ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนั้น เพื่อให้สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิมาปฏิบัติหน้าที่ในการจัดทำรัฐธรรมนูญได้จนเสร็จสิ้นภารกิจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้โดยไม่ถูกจำกัดตามบทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ จึงไม่ให้นำบทบัญญัติลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการและกรรมการว่าต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาบังคับใช้
กับการแต่งตั้ง สสร. และ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
(มาตรา 5 วรรค 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549)ประกอบบันทึกสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 59/2550 )

A

ได้ โดยสามารถดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการได้จนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ.2542 และในขณะเดียวกันสามารถดำรงตำแหน่งกรรมการโดยตำแหน่งได้จนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 282/2548) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์การ ควรมอบหมายให้บุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งกรรมการโดยตำแหน่งแทน

กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ
รูปแบบอื่น สำนักงาน ก.พ.ร.
   59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ติดต่อเรา

   โทร. 02 356 9999
   โทรสาร 02 281 7882
   e-mail: saraban@opdc.go.th

สงวนลิขสิทธิ์ © 2025 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ